วันพุธที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

การสื่อสารข้อมูลบนระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

การสื่อสารข้อมูลบนระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์


ระบบการสื่อสารข้อมูลมีการพัฒนามานานแล้ว ในอดีตในยุคแรกก่อนที่จะมีComputer การรับส่งข้อมูลจากผู้ส่งข้อมูลไปยังผู้รับข้อมูล การนำส่งข้อมูลต้องอาศัยบุคคลหรือสัตว์ หรือใช้ยานพาหนะเป็นผู้นำไปส่งทำให้เกิดความไม่สะดวกและยิ่งผู้ส่งอยู่ห่างไกลกับผู้รับมากเท่าใด โอกาสที่จะเกิดความล่าช้าย่อมมีมากขึ้น


ความหมายและองค์ประกอบของระบบการสื่อสารข้อมูล (Data Communication)

1. ผู้ส่งข้อมูล (Source) เป็นแหล่งกำเนิดข้อมูล ข่าวสาร อาจเป็นสิ่งมีชีวิต
2. ผู้รับข้อมูล (Destination) เป็นจุดหมายปลายทางของข้อมูลข่าวสาร นำข้อมูลข่าวสารที่ได้รับไปใช้
3. สื่อกลาง (Transmission medium) เป็นสื่อกลางหรือช่องทางที่ใช้สำหรับข้อมูลข่าวสารผ่าน เช่น สายโทรศัพท์ สาย fiber optic อากาศ
4. ตัวแปลงสัญญาณ ได้แก่ Transmitter ทำหน้าที่แปลงข้อมูลให้เป็นสัญญาณและ Receiver ทำหน้าที่แปลงสัญญาณให้เป็นข้อมูล เช่น Modem, โทรศัพท์ เป็นต้น
5. โปรโตคอล (Protocol) คือ กฎเกณฑ์หรือข้อกำหนดที่ควบคุมการสื่อสารให้ผู้ส่งและผู้รับสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันได้และสามารถเข้าใจความหมายของข้อมูลข่าวสารตรงกัน เช่น ภาษามือ,ภาษาพูด, Protocol TCP/IP, HTTP, FTP เป็นต้น
6. ข้อมูล (Data) เป็นข้อเท็จจริงที่ใช้แลกเปลี่ยนระหว่างผู้ส่งและผู้รับ มีได้หลายรูปแบบ เช่น ข้อความ ภาพ เสียง


ทิศทางในการสื่อสารข้อมูล (Transmission Mode) เราสามารถแบ่งได้มี รูปแบบ

1. Simplex : ส่งทางเดียวและรับทางเดียว คือ ขณะที่ผู้ส่งข้อมูลผู้รับจะไม่สามารถส่งข้อมูลกลับมาให้ผู้ส่งได้ในช่องทางเดียวกัน เช่น การแพร่ภาพสัญญาณโทรทัศน์ หรือการแพร่สัญญาณคลื่นวิทยุ
2. Half duplex : สามารถส่งได้ทั้งสองทาง แต่ไม่สามารถส่งพร้อมกันได้ในเวลาเดียวกันในช่องทางเดียวกัน คือเมื่อผู้ส่งส่งข้อมูลให้ผู้รับ ผู้รับสามารถส่งข้อมูลกลับมาให้ผู้ส่งในช่องทางเดียวกันได้แต่ต้องทำคนละเวลา เช่น วิทยุสื่อสารของทหาร
3. Full duplex : สามารถส่งพร้อม ๆ กันทั้งสองทางได้ คือ เมื่อผู้ส่งส่งข้อมูลให้ผู้รับ ผู้รับสามารถส่งข้อมูลกลับมาให้ผู้ส่งในช่องทางเดียวกันในเวลาเดียวกันได้ เช่นการสื่อสารทางโทรศัพท์
4. Echo plex : เป็นการสื่อสารแบบสะท้อนกลับ เช่น การส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายไปยัง Server ข้อมูลที่ส่งจะสะท้อนออกทางหน้าจอ

ข้อมูลและสัญญาณ (Data and Signal)


ในการสื่อสารข้อมูลเราจะไม่ทำการส่งข้อมูลผ่านสื่อกลางโดยตรง แต่จะต้องมีแปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปสัญญาณก่อน (Modulate) เพราะในการสื่อสารระยะทางไกล ๆ ข้อมูลที่ส่งจะถูกรบกวนได้ง่ายเนื่องจากมีพลังงานต่ำ ดังนั้นจึงต้องทำให้อยู่ในรูปสัญญาณข้อมูล จะทำให้ไปได้ไกลขึ้นและมีพลังงานในการเดินทางมากขึ้น

ช่องทางการสื่อสาร (Channel) เป็นเส้นทางการเคลื่อนย้ายข้อมูล ข่าวสารหรือสัญญาณจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง
อัตราเร็วการส่งข้อมูล (Bit rate) คือ จำนวนข้อมูลหน่วยเป็นบิตที่ถูกส่งออกไปภายในระยะเวลาหนึ่งวินาที หน่วยเป็นบิตต่อวินาที (bps)
แบนด์วิดท์ (Bandwidth, B) คือ ความกว้างของช่องสัญญาณ วัดเป็นแถบความถี่ หน่วยเป็นเฮิรตซ์ (Hertz, Hz)
ความถี่ (Frequency, f) คือ จำนวนรอบสัญญาณในหนึ่งวินาที หน่วยเป็นเฮิรตซ์ (Hertz, Hz)
คาบของสัญญาณ (Period, T) คือ ระยะเวลาที่สัญญาณเดินทางครบหนึ่งรอบหน่วยเป็นวินาที (s)
ความเร็วสัญญาณ (Velocity, v) คือ ระยะทางที่สัญญาณเดินทางได้ในหนึ่งวินาที หน่วยเป็นเมตรต่อวินาที (m/s) จากการวัดเราพบว่าคลื่นแสงมีความเร็วเท่ากับ3 x108 m/s
ความยาวคลื่น (Wave length, λ) คือ ระยะของคลื่นขนาดหนึ่งรอบ

ประเภทการส่งสัญญาณข้อมูล (Type of Signal Transmission)

ประเภทการส่งสัญญาณข้อมูลถูกแบ่งออกได้เป็น ประเภท คือ การส่งแบบขนานและแบบอนุกรม ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
1. การสื่อสารแบบขนาน (Parallel Transmission)เป็นการส่งข้อมูลหลายบิตพร้อมๆ กัน
2. การสื่อสารแบบอนุกรม (Serial Transmission)เป็นการส่งข้อมูลทีละบิตต่อเนื่องกันไปจากผู้ส่งไปยังผู้รับโดยใช้สายส่งเส้นเดียว


สื่อกลางที่ใช้ในระบบการสื่อสารข้อมูล (Transmission Media)


สื่อกลางในการนำส่งข้อมูลเราแบ่งได้เป็น ประเภท คือ
1. ประเภทสาย (Guide Media) คือ ประเภทที่มีสายส่ง และมีการบังคับสัญญาณให้วิ่งอยู่ในสาย สัญญาณมีทิศทางวิ่งแน่นอนต้องเป็นสายที่มี bandwidth
2. ประเภทไร้สาย (Unguided media) การสื่อสารแบบไร้สาย Wirelesstransmission นั้นเริ่มมีมานานแล้ว ตั้งแต่ 1930-1940 ทำควบคู่มากับเรื่องโทรศัพท์ เพียงแต่ว่าWireless transmissionไม่เด่นมากนักเนื่องจากการใช้งานเน้นไปทางด้านสื่อสารโดยใช้เสียงมากกว่านำมาส่งข้อมูล

สาเหตุที่ทำให้การสื่อสารล้มเหลว (Transmission Impairments)

สัญญาณที่ผู้รับมีลักษณะต่างจากสัญญาณที่ผู้ส่งส่งออกมา มีสาเหตุหลายประการ
ดังนี้
1. Impulse Noise เกิดจากมีสัญญาณรบกวนที่มีพลังงานสูงมารบกวนสัญญาณข้อมูล เช่น ขณะดูโทรทัศน์เมื่อมีฝนฟ้าคะนองสัญญาณภาพจะไม่ชัดเจน
2. Thermal Noise เกิดมีความร้อนเกิดขึ้นในสายส่งข้อมูล เนื่องจากใช้สายไปนาน ๆ อิเล็กตรอนเคลื่อนผ่านลวดทองแดง ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าและความร้อนมารบกวนสัญญาณข้อมูล
3. Attenuation เกิดสัญญาณข้อมูลอ่อนกำลังลงเพราะส่งไปในระยะทางไกลทำให้สัญญาณสูญเสียรูปร่างเดิม
4. Cross Talk เกิดจากมีสายส่งหลายเส้นส่งสัญญาณไฟฟ้ามารวบกวนกับสายส่งข้างเคียง เนื่องจากใช้สายคุณภาพไม่ดี หรือไม่มีฉนวนหุ้มสายส่ง เช่น เหตุการณ์เมื่อคุยโทรศัพท์แล้วมีสายซ้อน


เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network)

เครือข่ายคอมพิวเตอร์ คือ การนำเอาคอมพิวเตอร์หลายเครื่องมาทำการเชื่อมโยงกันและคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายจะสามารถสื่อสารกันได้ โดยการสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์มี
วัตถุประสงค์ ดังนี้
1. สามารถใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ เช่น ข้อมูล หน่วยความจำ เครื่องพิมพ์
2. เพื่อติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันได้ระหว่างผู้ใช้ในเครือข่าย
3. เพื่อช่วยการทำงานเร็วขึ้น เช่น การประมวลผลข้อมูลในกรณีมีงานมากอาจใช้คอมพิวเตอร์หลายตัวช่วยกันประมวลผลจะเร็วกว่าใช้คอมพิวเตอร์เครื่องเดียว
4. เพื่อเพิ่มความเชื่อถือ ลดความเสี่ยงของการทำงาน เมื่อคอมพิวเตอร์ที่ใดที่หนึ่งไม่สามารถใช้งานได้ ผู้ใช้อาจจะเปลี่ยนไปใช้คอมพิวเตอร์อื่นที่มีอยู่ในเครือข่ายได้
5. เพื่อให้สามารถควบคุมและจัดสรรทรัพยากรแก่คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายได้เช่น Software ที่ต้องประมวลผลในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีหน่วยความจำมาก ก็ให้ไปประมวลผลที่ Server หรือเครื่องที่มีสมรรถนะสูงแล้วส่งผลลัพธ์มาที่เครื่องลูกข่ายที่ต้องการใช้งาน Software นั้น

ประเภทเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Categories of Computer Network)


เราสามารถแบ่งเครือข่ายได้หลายแบบขึ้นจะใช้กฎเกณฑ์ใดในการแบ่ง ซึ่งมีดังนี้

1. แบ่งเครือข่ายโดยใช้เกณฑ์พิจารณาจากลักษณะการเชื่อมต่อ
2. การแบ่งเครือข่ายโดยใช้เกณฑ์พิจารณาจากเทคนิคการส่งข้อมูลและลักษณะการใช้งาน
3. แบ่งเครือข่ายโดยใช้เกณฑ์พิจารณาจากความสัมพันธ์ระหว่าง Node ที่อยู่ในเครือข่าย
4. แบ่งเครือข่ายโดยใช้เกณฑ์พิจารณาจากขนาดของเครือข่าย


อุปกรณ์ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Network Device)

ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีอุปกรณ์อยู่หลายชนิด ดังนี้
1. HUB หรือ ฮับคือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ใช้เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ โดยมี Port ไว้สำหรับเสียบสายLAN ที่ตอ่ มาจากเครื่องคอมพิวเตอร ์โดย HUB จะรับขอ้ มูลที่ไดรั้บจากพอรต์ (Port) ใดพอรต์ หนึ่งส่งไปยังทุกพอร์ตที่เหลือของเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่มาเชื่อมต่อกับ HUB หรือที่เรียกว่าเป็นการส่งข้อมูลแบบ Broadcast
2. SWITCH หรือ สวิตซ์คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ใช้เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ โดยมี Port ไว้สำหรับเสียบสายLAN ที่ต่อมาจากเครื่องคอมพิวเตอร์เหมือน HUB
3. ROUTER หรือ เราท์เตอร์คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมโยงระหว่างเครือข่ายและทำการหาที่อยู่ (Address)ของผู้รับปลายทางและทำการส่งข้อมูลที่รับเข้ามาไปยังผู้รับปลายทาง โดยการอ่านแพ็กเก็ตข้อมูลเพื่อที่จะกำหนดและส่งแพ็กเก็ตต่อไป
4. BRIDGE หรือ บริดจ์คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อม LAN เครือข่ายขนาดเล็กเข้าด้วยกัน และสามารถเพิ่มจำนวน LAN ที่จะมาเชื่อมได้มากโดยที่ประสิทธิภาพของระบบ ไม่ลดลงมาก
5. MODEMเป็นอุปกรณ์ทำหน้าที่แปลงสัญญาณข้อมูลจาก สัญญาณ Analog เป็นสัญญาณDigital หรือแปลงสัญญาณจาก สัญญาณ Digital เป็นสัญญาณ Analog จะมีหน่วยความจำROM) เก็บคำสั่งภาษา Hayes
6. LAN Card หรือ การ์ดแลน (Network Interface Card -NIC)เป็นการ์ดสำหรับต่อเครื่องพีซีเข้ากับสาย LAN


เครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet Network)

เป็นเครือข่าย WAN ที่ในปัจจุบันมีผู้ใช้งานมากที่สุดหลายล้านคนและจะเพิ่มจำนวนผู้ใช้มากขึ้นเรื่อย ๆ สำหรับ Protocol ที่ใช้ในเครือข่าย เพื่อให้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถเข้าใจสื่อสารกันได้ มีชื่อเรียกว่า TCP/IP ซึ่งเป็นชุด Protocol โดยจะมี Protocol หลายตัวช่วยในการทำงาน เช่น TCP, IP, UDP, FTP, DNS เป็นต้น ซึ่ง TCP/IP จะมีอยู่ในระบบปฏิบัติการกือบทุกตัวอยู่แล้ว และทำให้ง่ายในการติดตั้งและเชื่อมต่อ ประวัติความเป็นมานั้น Internetเกิดครั้งแรกที่ประเทศสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1969 รัฐบาลสหรัฐโดยกระทรวงกลาโหม ได้ให้งบประมาณกับมหาวิทยาลัยเบิกเลย์ แถวซานฟรานซิสโก

บริการของอินเทอร์เน็ต (Internet Service) ผู้ใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตสามารถใช้บริการของอินเทอร์เน็ต (Internet)

1. Electronic mail เป็นการส่งข้อความหรือว่าเอกสารต่าง ๆ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ในรูปแบบที่คล้ายกับการส่งจดหมาย
2. USENET news เป็นแหล่งของการแลกเปลี่ยนข่าวสาร มีการส่งคำถามเข้าไปและถ้ามีผู้สนใจจะเข้ามาตอบคำถาม
3. FTP (File Transfer Protocol- บริการโอนย้ายข้อมูล) เป็นบริการที่ช่วยในการupload ข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ เข้าไปเก็บใน
4. WWW (World Wide Web) คือ บริการที่อยู่ในรูป Web site ซึ่งปัจจุบันนี้บริการนี้ได้รับความนิยมมากที่สุดเพราะมีความสวยงาม
5. บริการสนทนาบนอินเทอร์เน็ต (Instant Message) เป็นบริการส่งข้อความโต้ตอบระหว่างผู้ส่งกับผู้รับ รวมถึงสามารถส่งไฟล์ข้อมูลผ่านเครือข่ายได้ด้วย

สรุป

การสื่อสารข้อมูลบนระบบเครือข่ายนั้นมีความสำคัญมากในยุคปัจจุบันนี้ต้องการการรับส่งข้อมูลอย่างรวดเร็วและถูกต้อง ขณะเดียวกันก็ประหยัดค่าใช้จ่ายด้วย ดังนั้นองค์กรต่าง ๆ จึงมีการพัฒนาระบบเครือข่ายใช้งานภายในองค์กรของตนเอง ซึ่งมีเครือข่ายหลายประเภททั้งใช้สายส่งและแบบไร้สาย แต่หลักการการรับส่งสัญญาณข้อมูลโดยรวมแล้วเหมือนกัน เครือข่ายอินเทอร์เน็ตก็เป็นอีกเครือข่ายหนึ่งที่มีประโยชน์อย่างมากตามที่กล่าวไว้ในบทเรียน ขณะเดียวกันถ้านำไปใช้ในทางที่ผิดก็อาจเกิดผลเสียได้ ดังนั้นการพัฒนาเทคโนโลยีด้านต่าง ๆ รวมทั้งด้านการสื่อสารให้มีประสิทธิภาพก็ต้องมีการพัฒนาคุณภาพคุณธรรมของผู้ใช้ควบคู่กันไปด้วยจึงจะได้ประโยชน์สูงสุด

วันอังคารที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

การจัดการข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์


ข้อมูล (Data)


ข้อมูล หมายถึง ข้อเท็จจริง ซึ่งอาจเป็นข้อความ ตัวเลข สัญลักษณ์ รูปภาพ กราฟหรือเสียง หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและยังไม่ผ่านการวิเคราะห์ เช่น รถชนกันในวันสงกรานต์10 คัน หรือมีการคัดค้านการสร้างโรงไฟฟ้าบ่อนอกและหินกรูด


สารสนเทศ (Information)


สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผล หรือผ่านการวิเคราะห์อย่างเหมาะสม และสรุปให้อยู่ในรูปแบบที่มีความหมาย เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในกิจกรรมขององค์กรได้ เช่น กิจกรรมด้านการเรียนการสอน จะมีข้อมูล (สารสนเทศ) เกี่ยวกับจำนวนอาจารย์ จำนวนนักศึกษา จำนวนห้องเรียน คะแนนเฉลี่ยของนักศึกษาแต่ละคน

1. ด้านการดำเนินงาน สารสนเทศจะช่วยผู้บริหารในการควบคุมและติดตามผลการดำเนินงานของหน่วยงานต่าง ๆ
2. ด้านการตัดสินใจ สารสนเทศที่ดีจะมีความสำคัญอย่างยิ่งในการสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารให้มีประสิทธิภาพและรวดเร็วยิ่งขึ้น
3. ด้านการวางแผน ผู้บริหารจะใช้สารสนเทศต่าง ๆ ขององค์กรและหน่วยงานภายนอก มาใช้ในการกำหนดนโยบายและวางแผนการดำเนินงานระยะยาวและกลยุทธ์ในการดำเนินงานขององค์กร

ระบบสารสนเทศ


ระบบสารสนเทศ หมายถึง กลุ่มขององค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์กัน และมีการรวบรวมข้อมูลมาประมวลผลข้อมูลเพื่อเพิ่มความรู้ ความเข้าใจของผู้ใช้จนได้สารสนเทศที่มีประโยชน์เก็บรักษา และกระจายสารสนเทศออกไปเพื่อใช้ในการวางแผน การวิเคราะห์การตัดสินใจ การควบคุมและสนับสนุนการดำเนินงานขององค์กร ระบบสารสนเทศประกอบไปด้วย ส่วน คือ

1. ข้อมูลเป็นทรัพยากรที่สำคัญต่อบุคคลและองค์กร ข้อมูลแบ่งออกเป็น
1.1 ข้อมูลทั่วไป ได้แก่ ตัวอักษร (Alphabetic) ตัวเลข (Numeric)ตัวอักษรเลข (Alphanumeric) เช่น27/4/49
1.2 ข้อความ (Text) ประกอบด้วย ประโยคและข้อความที่ใช้ในการสื่อสาร
1.3 ภาพ (Image) เช่น รูปทรง กราฟ และตัวเลข
1.4 เสียง (Voice) เช่น เสียงพูด
1.5 Tactile Data เป็นข้อมูลที่เกิดจากวัตถุไวต่อการสัมผัส
1.6 ข้อมูลจากเครื่องรับรู้ (Sensor) ได้จากเครื่องรับรู้ต่าง ๆ ที่ใช้ในการควบคุมอุปกรณ์ เช่น เครื่องรับรู้ในขบวนการในการผลิต กระบวนการ การเดินทางในอากา

2. การจัดเก็บ เน้นการจัดข้อมูลให้อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อำนวยความสะดวกต่อการเรียกใช้งาน เช่น การจัดเก็บในรูปแบบแฟ้มข้อมูล (Data File)

3. เครื่องมือที่ใช้จัดเก็บข้อมูลและประมวลผล เครื่องมือที่ใช้คือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ได้แก่ เทคโนโลยีด้านฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์

4. การประมวลผล คือการแปรสภาพข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่ต้องการนำมาใช้งาน
5. สารสนเทศ เป็นผลผลิตของระบบสารสนเทศที่มีคุณสมบัติถูกต้อง (Accuracy)ตรงตามความต้องการ (Relevancy) ทันเหตุการณ์ (Timeliness) สมบูรณ์ครบถ้วน (Complete)กะทัดรัด (Concise) และนำไปใช้ประโยชน์ในกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งขององค์กร

การประมวลผลข้อมูล


การประมวลผลข้อมูล คือ กระบวนการหรือขั้นตอนในการแปรสภาพข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่ผู้ใช้ต้องการ เช่น ข้อความที่ปรากฏบนจอภาพ รายงาน แบบฟอร์มเอกสาร วีดิทัศน์โดยผู้ใช้งานสารสนเทศมีความประสงค์จะนำสารสนเทศดังกล่าวไปใช้ในการพัฒนางานในองค์กร
ประเภทการประมวลผลข้อมูล
การประมวลผลข้อมูลมีหลากหลายรูปแบบ เช่น การประมวลผลข้อมูลด้วยแรงงานคน ด้วยเครื่องจักร ด้วยเครื่องอิเล็กทรอสิกส์ ซึ่งในปัจจุบันนิยม แบบ คือด้วยแรงงานคนกับเครื่องอิเล็กทรอนิกส์

1. การประมวลผลข้อมูลด้วยมือ (Manual Data Processing) เป็นวิธีการที่ใช้ในอดีตและปัจจุบันยังคงมีการใช้ในองค์กรขนาดเล็ก

2. การประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ (EDP : Electronic DataProcessing) เป็นการประมวลผลข้อมูลโดยการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์

3. ขั้นตอนการแสดงผลลัพธ์ (Output) เป็นขั้นตอนการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่าง ๆ อาจอยู่ในรูปแบบเอกสาร รายงาน

การทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์กับข้อมูล


ในหัวข้อนี้จะกล่าวถึงการทำงานแต่ละส่วนของเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์รอบข้างเมื่อมีโปรแกรม และข้อมูลว่ามีการดำเนินงานอย่างไรเมื่อเปิดสวิตซ์ของเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์แล้ว จะมีกระแสไฟฟ้าไหลเข้าไปยังอุปกรณ์ต่าง ๆ และโปรแกรมคำสั่งที่ถูกบันทึกอยู่ในรอม (ROM) จะทำงานโดยการส่งคำสั่งไปให้ซีพียูทำงานเป็นครั้งแรกของการเปิดเครื่องนั้น ทำให้ซีพียูไปอ่านโปรแกรมระบบการจากสื่อบันทึกข้อมูล ซึ่งอาจเป็นฮาร์ดดิสก์หรือแผ่นดิสก์เก็ต ลงในหน่วยความจำแรม (RAM) และหน่วยควบคุม (Control Unit) จะทำการควบคุมการทำงานทั้งหมดของเครื่องคอมพิวเตอร์โดยอัตโนมัติตามคำสั่งของโปรแกรม โดย รอบคำสั่ง (Instruction Cycle)เริ่มจากหน่วยควบคุมอ่านคำสั่งจากหน่วยความจำแล้วนำคำสั่งนั้นไปปฏิบัติงานจนเสร็จ

1. Fetch Cycle and Decode Cycle คือ ขั้นตอนที่หน่วยควบคุมอ่านคำสั่งจากหน่วยความจำหลักแล้วนำไปเก็บในรีจีสเตอร์คำสั่ง (Instruction Register)

2. Execute Cycle เป็นขั้นตอนที่หน่วยควบคุมได้รับรหัสข้อมูลและเริ่มปฏิบัติงานตามคำสั่ง โดยส่งสัญญาณไปควบคุมส่วนต่าง ๆ ภายในไมโครโปรเซสเซอร์ให้ทำงานจนเสร็จ

การมองข้อมูลของคอมพิวเตอร์


เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่ใช้สัญญาณดิจิตอลในการทำงานต่าง ๆ เช่น เก็บข้อมูล ประมวลผล และแสดงผลลัพธ์ ดังนั้นการมองข้อมูลของเครื่องคอมพิวเตอร์จึงไม่เหมือนผู้ใช้งาน
1. บิท (Bit) มายถึง ค่าที่เล็กที่สุด ที่คอมพิวเตอร์รู้จัก เนื่องจากเครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานด้วยระบบไฟฟ้า และสัญญาณของกระแสไฟฟ้ามี สภาวะ คือ สภาวะที่วงจรมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านกับวงจรที่ไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน

2. ไบท์ (Byte) คือ การนำบิทมารวมกันเพื่อใช้แทนข้อมูลที่เป็นตัวเลข ตัวอักษรและสัญลักษณ์ ต่าง ๆ ในปัจจุบัน ไบท์ ประกอบด้วยบิท บิท ซึ่งสามารถสื่อความหมายได้256 แบบ ลักษณะการนำบิทมารวมกันเพื่อใช้แทนข้อมูลของมนุษย์นั้น มีระบบมาตรฐานในการกำหนดรหัสแทนข้อมูล ระบบ

การมองข้อมูลของผู้ใช้งาน


เครื่องคอมพิวเตอร์มองข้อมูลในลักษณะบิทและไบท์ ดังที่กล่าวมาแล้ว ในขณะที่ผู้ใช้งานมองข้อมูลในลักษณะโครงสร้างข้อมูลดังนี้

1. ตัวอักขระ (Character) หมายถึง สัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่มนุษย์ใช้งาน ตัวอักขระ
ตัว เมื่อนำไปเก็บในคอมพิวเตอร์จะเรียกว่า ไบท์ แบ่งออกเป็น ประเภท คือ
1.1 ตัวเลข (Nuneric) คือ เลขฐาน 10 ซึ่งมีลักษณ์ใช้ 10 ตัว คือ 0, 1, 2, 3, 4,5, 6, 7, 8, 9
1.2 ตัวอักษร (Alphabetic) คือ ตัวอักษร ถึง ตัวอักษร ถึง z
1.3 สัญลักษณ์พิเศษ (Special Symbol) คือ สัญลักษณ์ต่าง ๆ เช่น เครื่องหมาย

2. เขตข้อมูล (Field) หรือ รายการ(Item) คือ การนำตัวอักขระมาประกอบกันแล้วมีความหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง

3. ระเบียน (Record) คือ กลุ่มของฟิลด์ที่มีความสัมพันธ์กันมารวมกัน เช่นเรคคอร์ดของสินค้าประกอบด้วยเขตข้อมูลของสินค้า

4. แฟ้มข้อมูล (File) คือ การนำเรคคอร์ดชนิดเดียวกันมารวมไว้ด้วยกัน เช่นแฟ้มข้อมูลสินค้า (ดูตัวอย่าง ระเบียนสินค้าข้างบน)
4.1 แฟ้มข้อมูลหลัก (Master File) คือ แฟ้มข้อมูลที่เก็บข้อมูลถาวร(Permanent data) ที่มีความทันสมัยและตรงกับความเป็นจริง
4.2 แฟ้มรายการ (Transaction File) คือ แฟ้มข้อมูลที่รวบรวมการเปลี่ยนแปลงบางอย่างของแฟ้มข้อมูลหลัก เก็บเป็นรายการย่อย ๆ

ครงสร้างการจัดเก็บแฟ้มข้อมูล (File Organization)


 อุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูลมีหลายชนิด ดังนั้นจึงต้องมีการจัดการข้อมูลให้อยู่ในโครงสร้างที่เหมาะสมกับอุปกรณ์ที่ใช้และง่ายต่อการเข้าถึงข้อมูล ซึ่งประกอบไปด้วยการจัดเก็บข้อมูล (Store)
1) โครงสร้างแฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับ (Sequential file Organization)เน้นโครงสร้างแฟ้มข้อมูลที่ง่ายและมีประสิทธิภาพสูงใช้กับงานประมวลผลที่มีข้อมูลขนาดใหญ่และมีการกำหนดช่วงเวลาประมวลผล
2) โครงสร้างแฟ้มข้อมูลแบบสุ่ม (Random File Organization) เป็นโครงสร้างแฟ้มข้อมูลที่ใช้อุปกรณ์ในการเข้าถึงข้อมูลได้โดยตรง (Direct Access Storage Device)เช่น ดิสก์ ซีดี การจัดเก็บวิธีนี้จะมีแฟ้มข้อมูล ชุด คือ แฟ้มข้อมูลหลัก ซึ่งระเบียนข้อมูลที่จัดเก็บไม่เรียงลำดับกับแฟ้มดัชนี (Indexts)
5. ฐานข้อมูล (Database) ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อขจัดปัญหาที่เกิดขึ้นในการใช้แฟ้มข้อมูล ซึ่งผู้ใช้พบว่าโปรแกรมทุกโปรแกรมที่เขียนขึ้นจะต้องมีการสร้างแฟ้มข้อมูลขึ้นเฉพาะการใช้งานของโปรแกรมนั้น ๆ
5.1 ฐานข้อมูลแบบลำดับขั้น มีโครงสร้างคล้ายต้นไม้กลับหัว ข้อมูลจะมีความสัมพันธ์แบบพ่อกับลูก (Parent to Child) โดยมี Pointer ชี้และเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล ซึ่งอาจเป็นความสัมพันธ์ชนิดหนึ่งต่อกลุ่ม (One-to-Many)
5.2 ฐานข้อมูลแบบเครือข่าย เป็นโครงสร้างที่ออกแบบมาเพื่อขจัดปัญหาที่เกิดขึ้นในโครงสร้างแบบลำดับขั้น
5.3 ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ เป็นการออกแบบโครงสร้างของข้อมูลให้อยู่ในรูปตาราง (Table) 2 มิติ
การประมวลผลข้อมูลของระบบคอมพิวเตอร์
ลักษณะการประมวลผลข้อมูลของระบบคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็น ชนิด คือการประมวลผลแบบแบทซ์ (Batch Processing) และการประมวลผลแบบเรียลไทม์ (Realtime
1. การประมวลผลแบบแบทซ์ (Batch Processing)การประมวลผลแบบนี้จะมีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่เป็นเอกสาร(Source Documents) เช่น ใบสั่งซื้อ ใบส่งของ ใบเสร็จรับเงิน ใบลงชื่อทำงานของพนักงานจากนั้นนำข้อมูลมาบันทึกลงในสื่อบันทึกข้อมูล (Input media)
2. การประมวลผลแบบเรียลไทม์ (Data Realtime Processing)การประมวลผลแบบนี้ จะเกิดขึ้นทันทีที่มีข้อมูลนำเข้ามาในระบบโดยไม่มีการรอคอยเวลาเหมือนการประมวลผลแบบแบทซ์ โดยที่ข้อมูลที่นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์จะส่งผ่านมาทางเทอร์มินัล (Online Terminal)
การประมวลผลข้อมูลกับการสื่อสารข้อมูล
เมื่อระบบการสื่อสารข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์มีการพัฒนาเพิ่มขึ้นจึงมีการนำระบบการสื่อสารมาประยุกต์ใช้ร่วมกับคอมพิวเตอร์ ทำให้สามารถเผยแพร่ข้อมูลไปยังจุดต่าง ๆ ขององค์กรได้เร็วขึ้น
ระบบการประมวลผลข้อมูลแบบศูนย์กลาง (Centralized Data Processing System)
เป็นระบบที่อุปกรณ์และข้อมูลรวมอยู่ที่ศูนย์กลาง ทำให้การจัดการข้อมูลต่าง ๆต้องกระทำโดยศูนย์กลาง ซึ่งผู้ใช้ข้อมูลจะต้องรอคอยผลลัพธ์ของการประมวลผลจากศูนย์กลางซึ่งมีเครื่องคอมพิวเตอร์หลักเพียงชุดเดียว
ระบบการประมวลผลแบบกระจาย (Distributed Data Processing System)
เมื่อองค์กรขยายใหญ่ขึ้น ข้อมูลและความต้องการของผู้ใช้เพิ่มขึ้น ดังนั้นระบบการประมวลผลแบบศูนย์กลางไม่สามารถรองรับการทำงานได้เพราะค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้นจึงมีการพัฒนาระบบการประมวลผลแบบกระจายขึ้นมาเพื่อประหยัดรายจ่าย

สรุป

ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริง หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แต่อาจยังไม่สามารถให้ประโยชน์ต่อการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพจึงนำข้อมูลมาผ่านการประมวลผล ทำให้ได้ข้อมูลที่ให้ความรู้เพิ่มขึ้น เรียกว่า สารสนเทศที่องค์กรสามารถนำมาใช้ในการดำเนินงาน ใช้ประกอบการตัดสินใจ และวางแผนการทำงานในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ


เทคโนโลยีสารสนเทศ


ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ทุกคนเป็นอย่างมาก และมนุษย์ทุกคนจำเป็นต้องยอมรับการใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีชนิดนี้ เนื่องจากเป็นอุปกรณ์ที่อำนวย ความสะดวกในด้านการปฏิบัติงาน ในแง่ของความถูกต้อง และรวดเร็วและในยุคนี้ก็จัดว่าเป็นยุค IT (Information Technology) นั่นคือ ทุกคนให้ความสำคัญกับสารสนเทศ (Information) เป็นอย่างยิ่งหรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ บุคคลใดก็ตามที่ได้รับสารสนเทศที่ดีที่สุด รวดเร็วที่สุด บุคคลนั้นจะได้เปรียบเหนือคนอื่น
1. ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)

        ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศหมายถึง อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมประมวล เก็บรักษา และเผยแพร่ข้อมูลและสารสนเทศโดยรวมทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ฐานข้อมูล และการสื่อสาร โทรคมนาคม


2.
ความหมายของข้อมูลและสารสนเทศ

        ระบบสารสนเทศสร้างขึ้นมาเพื่อจุดมุ่งหมายหลายประการจุดมุ่งหมายพื้นฐานประการหนึ่ง คือ การประมวลข้อมูล (Data) ให้เป็นสารสนเทศ (Information) และนำไปสู่ความรู้ (Knowledge) ที่ช่วยแก้ปัญหาในการดำเนินงาน


3. ความหมายของข้อมูล

        ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ หรือข้อมูลดิบที่ยังไม่ผ่านการประมวลผล ยังไม่มีความหมายในการนำไปใช้งาน ข้อมูลอาจเป็นตัวเลข ตัวอักษร สัญลักษณ์ รูปภาพ เสียง หรือภาพเคลื่อนไหว


4. ความหมายของสารสนเทศ

        สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่ได้ผ่านการประมวลผลหรือจัดระบบแล้ว เพื่อให้มีความหมายและคุณค่าสำหรับผู้ใช้


5. ลักษณะสารสนเทศที่ดี

เนื้อหา (Content)
  • ความสมบูรณ์ครอบคลุม (completeness)
  • ความสัมพันธ์กับเรื่อง (relevance)
  • ความถูกต้อง (accuracy)
  • ความเชื่อถือได้ (reliability)
  • การตรวจสอบได้ (verifiability)
รูปแบบ (Format)
  • ชัดเจน (clarity)
  • ระดับรายละเอียด (level of detail)
  • รูปแบบการนำเสนอ (presentation)
  • สื่อการนำเสนอ (media)
  • ความยืดหยุ่น (flexibility)
  • ประหยัด (economy)
เวลา (Time)
  • ความรวดเร็วและทันใช้ (timely)
  • การปรับปรุงให้ทันสมัย (up-to-date)
  • มีระยะเวลา (time period)
กระบวนการ (Process)
  • ความสามารถในการเข้าถึง (accessibility)
  • การมีส่วนร่วม (participation)
  • การเชื่อมโยง (connectivity)

6. ความหมายของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System)
        ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ คือ ระบบที่รวบรวม ประมวล เก็บรักษา และเผยแพร่สารสนเทศ เพื่อใช้ในการวางแผน การพัฒนาตัดสินใจ ประสานงาน และควบคุมการดำเนินงาน

วันจันทร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์


องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
ระบบคอมพิวเตอร์ประกอบด้วย องค์ประกอบสำคัญ ได้แก่
1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
2. ซอฟท์แวร์ (Software)
3. บุคคลากรทางคอมพิวเตอร์ (People ware)
4. ข้อมูล (Data) และสารสนเทศ (Information)
5. ระเบียบปฏิบัติและกระบวนการ (Procedure)
6. ระบบสื่อสารข้อมูล (Data Communication)


1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หรือตัวเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ หมายถึงส่วนที่เป็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ประกอบขึ้นมาใช้งานได้ ซึ่งสามารถแบ่งส่วนประกอบได้ส่วนที่สำคัญ คือ
1.1 อุปกรณ์รับข้อมูลเข้า (Input Device) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการรับข้อมูลเข้าไปสู่หน่วยประมวลผลกลาง ผู้ใช้สามารถป้อนข้อมูลคำสั่งต่าง ๆ ผ่านอุปกรณ์เหล่านี้เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลเข้า ได้แก่

1.1.1 แป้นพิมพ์ (Keybord) เป็นอุปกรณ์พื้นฐาน ส่วนที่ใช้สำหรับข้อมูลที่สามารถพิมพ์ หรือเคาะได้ เช่น ตัวเลข ตัวอักษร เป็นต้น แป้นพิมพ์ ถูกออกแบบให้ประกอบด้วยกลุ่มของคีย์ที่มีลักษณะต่าง ๆ คือ คีย์ตัวอักษร (Alphabatic keys) คีย์ตัวเลข(Numeric keys) คีย์ฟังก์ชั่น (Function keys) และคีย์ทั้งหมดมีถึง 101 คีย์หรือมากกว่า โดยเป็นจริงแล้วรหัสที่แทนข้อมูลในปัจจุบันเป็นแบบ 8 bit / byteทำให้สามารถสร้างสัญลักษณ์ต่าง ๆ ไมากกว่า 256 สัญลักษณ์ที่แตกต่างกัน มีแป้นพิมพ์บางชนิดที่สร้างขึ้นเพื่อใช้งานเฉพาะทางมีจำนวนคีย์เฉพาะที่จำเป็นใช้งาน เช่น แป้นพิมพ์ของเครื่องฝาก-ถอน เงินอัตโนมัติ(Automatic Teller Machine) การทำงานของแป้นพิมพขึ้นอยู่กับคีย์บอร์ดคอนโทรลเลอร์(Keybord Controller) ซึ่งจะทำหน้าที่รับข้อมูลและแปลงให้เป็นสัญญาณที่เครื่องเข้าใจและส่งไปให้คีย์บอร์ดบัฟเฟอร์ (Keybord buffer) ทำหน้าที่พักสัญญาณที่ได้รับมาและติดต่อกับโปรแกรมระบบเพื่อดำเนินการต่อไป

1.1.2 เมาส์ (Mouse) เป็นอุปกรณ์สำหรับรับข้อมูลจากการชี้ตำแหน่งบนจอภาพ โดยอาศัยการเลื่อนเมาส์จากการหมุนของลูกกลมที่อยู่ด้านล่าง นอกจากนี้ยังใช้เมาส์สำหรับการวาดรูป การเปลี่ยนแปลง การเคลื่อนย้าย ซึ่งทำให้ผู้ใช้งานสามารถติดต่อกับคอมพิวเตอร์ได้อย่างรวดเร็ว แต่เมาส์จำเป็นจะต้องใช้ควบคู่กับแป้นพิมพ์เนื่องจากเมาส์ไม่สามารถป้อนตัวอักษรได้ ปกติจะวางเมาส์ไว้ทางด้านขวามือของผู้ใช้งาน ลักษณะของเมาส์มีรูปร่างที่แตกต่างกันและมีหลายขนาดขึ้นอยู่กับบริษัทผู้ผลิตที่นิยมจะเป็นขนาดที่ฝ่ามือจับได้สะดวก ด้านล่างของเมาส์จะมีลูกบอลช่วยสำหรับการเคลื่อนที่ขณะที่ลูกบอลเคลื่อนที่ตัวดักสัญญาณจะส่งข้อมูลเพื่อให้ระบบแปลงสัญญาณเลื่อนตำแหน่งบนจอภาพให้สอดคล้องกับเมาส์ที่เคลื่อนที่ไป ด้านบนของเมาส์จะมีปุ่มสองหรือสามปุ่มสำหรับกดเพื่อเลือกสิ่งที่ต้องการการกดเมาส์ เรียกว่า การคลิกเมาส์ (Clicking) สามารถทำได้หลายแบบและได้ผลต่างกัน เช่นการคลิก ครั้ง ดับเบิลคลิก การลากและวาง การคลิกขวา เป็นต้น เมื่อคลิกเมาส์ในรูปแบบต่าง ๆ ที่ต้องการแต่ละครั้งจะมีการส่งสัญญาณไปที่หน่วยประมวลผล เพื่อให้โปรแกรมตรวจ

1.1.3 แทร็กบอล (Track ball) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการรับข้อมูลโดยการชี้และเลือกข้อมูลผ่านทางจอภาพเช่นเดียวกับเมาส์ แต่แทร็กบอลจะเลื่อนตัวชี้ โดยการหมุนลูกบอลที่อยู่ด้านบน โดยตัวแทร็กบอลไม่ต้องเคลื่อนที่ จึงทำให้ใช้พื้นที่การทำงานน้อยกว่า นิยมใช้กับคอมพิวเตอร์แบบพกพา (Laptop)

1.1.4 จอยสติก (Joy Stick) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลมีลักษณะเป็นคันบังคับสำหรับโยกขึ้นลง ซ้ายขวา เพื่อควบคุมตำแหน่งของตัวชี้ หลักการทำงานเช่นเดียวกับเมาส์นิยมใช้ในการเล่นเกม ปัจจุบันจอยสติกมีการออกแบบให้สะดวกและเหมาะสมกับลักษณะของเครื่องเล่นที่มีหลายแบบ แต่หลักการยังคงเหมือนเดิม

1.1.5 เครื่องอ่านบาร์โค๊ต (Bar Code Reader) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลจากรหัสของเลขฐานสองที่อยู่ในรูปของรหัสแถบ ( Bar code) ซึ่งประกอบด้วยแถบสีดำและ
ยาว ความกว้างของแถบสีเป็นตัวกำหนดรหัสที่แทนค่าของตัวเลขตามมาตรฐานการกำหนดรหัสจะใช้สำหรับข้อมูลที่แทนตัวเลข เช่น ราคาของสินค้าตามร้านขายสินค้าประเภทต่าง ๆ นิยมกำหนดราคาด้วยรหัสแถบ หนังสือในห้องสมุด เป็นต้น เครื่องอ่านบาร์โค๊ต หรือเครื่องอ่านรหัสแถบใช้หลักการสะท้อนแสงจากความเข้มของสีที่แตกต่างกัน เมื่อเครื่องอ่านได้รับแสงที่สะท้อนมาจะนำไปเปรียบเทียบกับรหัสมาตรฐาน แล้วส่งรหัสที่ได้ไปประมวลผลต่อไป
เครื่องอ่านสามารถอ่านรหัสแถบทั้งจากบนลงล่าง หรือล่างขึ้นบนได้ทั้งสองทิศทาง

1.1.6 สแกนเนอร์ (Scanner) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูล โดยการอ่านหรือสแกน (Scan) ข้อมูลที่ต้องการ เครื่องสแกนจะมีเซลล์ไวแสงที่ตรวจจับความเข้มของแสงที่จากข้อมูล แล้วแปลงเป็นสัญญาณดิจิตอลให้เครื่องคอมพิวเตอร์ดำเนินการต่อไป ข้อมูลอาจจะอยู่ในรูปของข้อความหรือกราฟฟิก เครื่องสแกนมีหลายแบบตามความเหมาะสมกับการใช้งาน เช่น แบบมือถือ แบบสอดกระดาษ แบบแท่น เป็นต้น

1.1.7 เครื่องอ่านอักขระด้วยแสง (Optical Character Reader : OCR)เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลที่เป็นอักขระจากเอกสารต่าง ๆ เช่น ตัวอักษรบนเช็ค ตัวอักษรบนเอกสารอื่น ๆ ทำให้สะดวกในการรับข้อมูลจากเอกสารจำนวนมาก นอกจากนี้เครื่อง OCR

1.1.8 เครื่องอ่านหมึกพิมพ์แม่เหล็ก (Magcnetic Ink CharacterReader : MICR) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลที่พัฒนาเพื่อใช้สำหรับการอ่านสัญลักษณ์ที่พิมพ์จากหมึกพิมพ์ที่ผสมกับผงเหล็กออกไซด์

1.1.9 ปากกาแสง (Light pen) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลอีกชนิดหนึ่งโดยการแตะปากกาแสงไปตามตำแหน่งหรือทิศทางที่ต้องการ มักใช้ในงานออกแบบ แต่การใช้สำหรับการเขียนอักขระไม่เป็นที่นิยมเนื่องจากมีข้อจำกัดเกี่ยวกับสัญญาณที่ได้รับจากากรเขียนซึ่งทำได้ยากในการเปรียบเทียบค่าที่รับเข้ากับค่าที่กำหนดไว้รูป

1.1.10 จอสัมผัส (Touch screens) เป็นอุปกรณ์ที่สามารถทำงานได้ทั้งการรับและแสดงผลการรับข้อมูลจะใช้นิ้วสัมผัสที่หน้าจอ เพื่อเลือกเมนู เช่น หน้าจอของเครื่อง ATM (Automatic Teller Machines)

1.1.11 กล้องถ่ายภาพดิจิตอล (Digital Camera) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลโดยการถ่ายภาพ ข้อมูลที่ได้จะถูกเปลี่ยนเป็นสัญญาณดิจิตอลแล้วเก็บข้อมูลดิจิตอลนั้นไว้ใน

1.1.12 ไมโครโฟน (Microphone) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลจากเสียงพูดโดยตรง เสียงที่ได้จะถูกแปลงเป็นสัญญาณดิจิตอล เพื่อให้คอมพิวเตอร์ประมวลผลได้การสื่อสารโดยใช้เสียงคอมพิวเตอร์จำเป็นจะต้องมีหน่วยที่ทำหน้าที่จดจำเสียง ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของอุปกรณ์ หรือ ชุดของคำสั่ง (Voice Recognition Devices or Voice RecognitionSoftware) ซึ่งทำให้สามารถสื่อสารหรือสั่งการให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ เทคโนโลยีชนิดนี้ยังมีข้อจำกัดเนื่องจากน้ำเสียง

1.2 อุปกรณ์ของหน่วยประมวลผล การประมวลผลของคอมพิวเตอร์เกิดขึ้นจากการทำงานประสานกันของหน่วยประมวลผลและหน่วยความจำหลัก หรือหน่วยความจำภายใน โดยหน่วยประมวลผลจะทำหน้าที่ควบคุมและปฏิบัติการตามขั้นตอนของโปรแกรม ในขณะที่หน่วยความจำจะเป็นที่พักของโปรแกรม ข้อมูลนำเข้า และผลลัพธ์ที่ได้จาการประมวลผลก่อนการนำออกไปแสดงทางอุปกรณ์การแสดงผล

1.2.1 หน่วยควบคุม (Control Unit) จะทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ทุกอย่างรวมทั้งตัวเองด้วย ให้เป็นไปตามคำสั่ง เช่น ควบคุมให้หน่วยรับข้อมูลอ่านข้อมูลเข้าหรือให้หน่วยคำนวณ ทำการคำนวณ

1.2.1.1 Address Word เป็นส่วนที่จะเก็บตำแหน่งของคำสั่งที่ถูกเก็บไว้ในหน่วยความจำ ซึ่งเป็นส่วนที่ทำให้ CPU สามารถติดต่อกับคำสั่งเหล่านี้ได้

1.2.1.2 Instruction Word เป็นส่วนที่เก็บคำสั่งที่หน่วยควบคุมใช้ในการจัดการ ในชุดของคำสั่งนี้จะมีรายละเอียดที่กำหนดขั้นตอนและขอบเขตการทำงานของหน่วยควบคุม ภายใต้ชุดคำสั่งนั้น ๆ จะมีชุดของคำสั่งที่จะกำหนดรายละเอียดของการทำงานของส่วนอื่น ๆ ต่อไป CPU ที่แตกต่างกันจะมี Instruction set ที่แตกต่างกัน ผู้ผลิตCPU แต่ละรายจะกำหนดแนวทางของ CPU ให้มีโครงสร้างของInstruction คล้ายกัน

1.2.2 หน่วยคำนวณและเปรียบเทียบ (Arithmatic and LogicUnit:ALU) มีหน้าที่สำหรับการคำนวณ เช่น บวก ลบ คูณ หาร ตลอดทั้งการเปรียบเทียบข้อมูล เช่น เท่ากับ ไม่เท่ากับ มากกว่า น้อยกว่า รวมทั้งการประมวลผลอื่น ๆ

1.2.3 หน่วยความจำ (Memory Unit) เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ในการเก็บคำสั่งและข้อมูล รวมทั้งผลที่ได้จากการประมวลผลจากส่วนคำนวณและเปรียบเทียบนอกจากนี้ยังทำหน้าที่ในการส่งหรือคัดลอก (Copy) ข้อมูลจากหน่วยความจำไปยังหน่วยอื่น ๆที่เกี่ยวข้องข้อมูล แต่ละข้อมูลจะถูกกำหนดตำแหน่งให้เก็บในหน่วยความจำเพียงตำแหน่งเดียวมีข้อมูลชื่อเดิมถูกส่งใหม่อีก

1.2.3.1 หน่วยความจำหลักหรือหน่วยความจำภายใน (MainMemory or Internal Memory) เป็นหน่วยความจำที่อยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่เก็บข้อมูลเก็บโปรแกรมและผลลัพธ์ที่อยู่ระหว่างการประมวลผล 
หน่วยความจำประเภทนี้จะเป็นชิป (Chip) ที่ถูกวางบนแผงวงจรหลัก (Mainbord)

1) หน่วยความจำถาวร (ROM:Read Only Memory)เป็นหน่วย ความจำชนิด Nonvolatile ซึ่งเก็บคำสั่งที่สำคัญ เช่น โปรแกรมระบบปฏิบัติการ(Operating System : OS) คำสั่งเริ่มต้นการทำงาน คำสั่งควบคุมอุปกรณ์ ชุดของคำสั่งที่สำคัญเหล่านี้จะถูกบรรจุบน ROM โดยวิธีพิเศษจากโรงงานผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถอ่านโปรแกรมนำมาปฎิบัติตามได้อย่างเดียว ไม่สามารถบันทึกหรือแก้ไข ลงบน ROM ได้การบันทึกแก้ไขจะต้องอาศัยวิธีพิเศษจึงทำให้ ROM สามารถแบ่งย่อยออกเป็น ชนิด คือ.PROM (Programmable Read Only Memory) ชนิดนี้ไม่อนุญาตให้แก้ไขเลยEPROM(Erasable PROM) เก็บและแก้ไขได้ด้วยแสงอัตราไวโอเลต EEPROM (Electrically ErasablePROM) และ EAPROM (Electrically Alterable PROM) ทั้ง ชนิดหลัง สามารถแก้ไข ลบ

2) หน่วยความจำแบบชั่วคราวหรือแบบแก้ไขได้(Ramdon Access memory:RAM) เป็นหน่วยความจำชนิด Volatile ความเร็วในการส่งข้อมูลสูง หน่วยความจำส่วนนี้จะทำหน้าที่เก็บข้อมูล โปแกรมและผลลัพธ์ ในระหว่างการประมวลผลเป็นส่วนที่อนุญาตให้ผู้ใช้สามารถส่งข้อมูลหรือโปรแกรมเข้าไปเก็บ เพื่อประมวลผลซึ่งส่วนควบคุมจะแบ่งเนื้อที่ในหน่วยความจำ

1.2.3.2 หน่วยความจำสำรองหรือหน่วยความจำภายนอก(Secondary Memory or External Memory) เนื่องจากหน่วยความจำภายใน โดยเฉพาะRAM เป็นหน่วยความจำ ชนิด Volatile จึงไม่มีความสามารถในการจัดข้อมูลเมื่อไม่มีไฟเลี้ยงอีกทั้งความจุของหน่วยความจำ ภายในไม่เอื้อสำหรับการเก็บข้อมูลจำนวนมาก

1) เทปแม่เหล็ก (Magnetic Tape) เป็นหน่วยความจำที่ใช้เก็บข้อมูลมาตั้งแต่ยุคแรกจนถึงปัจจุบัน ลักษณะของเทปแม่เหล็กบันทึกข้อมูลคล้ายกับเทปแม่เหล็กที่ใช้ในการบันทึกเสียงคือทำด้วยพลาสติก เรียกว่า สารไมลาร์ อีกด้านหนึ่งเคลือบด้วยเหล็กออกไซด์ความกว้างประมาณครึ่งนิ้ว ถึง นิ้ว ม้วนอยู่ในวงล้อ มีทั้งแบบม้วนเทป(Reel-to-Reel) ที่ใช้ในคอมพิวเตอร์แบบเมนเฟรม แบบคาร์ทริดจ์เทป (Cartride Tape) ลักษณะคล้ายวิดิทัศน์

2) จานแม่เหล็ก (Magnetic Disk) เป็นหน่วยความจำที่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยตรง (DASD : Direct Access Storage Device) การบันทึกและการอ่านข้อมูลบนจานแม่เหล็กใช้หลักการเดียวกับเทปแม่เหล็ก

3) จานแม่เหล็กแบบอ่อนหรือดิสก์เก็ต (Floppy Disk :Diskette) เป็นจานแม่เหล็กชนิดหนึ่งที่สร้างจากแผ่นไมลาร์ (Mylar) ฉาบด้วยเหล็กออกไซด์เป็นจานแม่เหล็กแผ่นเดียว และห่อหุ้มด้วยพลาสติก มีหลายขนาด เช่น นิ้ว 5.25 นิ้ว

4) ฮาร์ดดิสก์ (Hard disk) เป็นหน่วยความจำสำรองที่มีหลักการเช่นเดียวกับจานแม่เหล็กส่วนที่เก็บข้อมูลทำจากแผ่นโลหะ เรียกว่า แพลตเตอร์(Platters) และฉาบด้วยเหล็กออกไซด์ ส่วนที่เป็นเครื่องอ่านฮาร์ดดิสก์

5) ซีดีรอม (CD - ROM : Compact Disk Read OnlyMemory) เป็นอุปกรณ์บันทึกข้อมูล โดยใช้เทคโนโลยีแสงเลเซอร์ เป็นเทคโนโลยีเดียวกับซีดีเพลง การบันทึกข้อมูลบน CD-ROM ต้องใช้เครื่องมือพิเศษจากบริษัทผู้ผลิต ข้อมูลบนCD-ROM จะถูกเรียงกันเป็นแถวยาวจับเป็นก้นหอย โดยบันทึกข้อมูลเป็น Bit เรียงลำดับไปข้อมูลถูกเก็บอยู่ในรูปแลนด์ (Lands) ซึ่งเป็นผิวเรียบ และรูปพิท (Pits)

6) ซีดี-อาร์ (CD-R : CD-Recordable) เป็น CD ที่สามารถบันทึกข้อมูลโดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า CD-R Drive โดยการติดตั้งไดร์ฟนี้เข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำให้สามารถบันทึกข้อมูลจากการประมวลผล ลงบน CD-R ได้ รวมทั้งการอ่านข้อมูลจาก CD-R ได้ด้วย แต่เมื่อบันทึกแล้วจะไม่มีการแก้ไจหรือปรับปรุงได้

7) วอร์มซีดี (WORM CD : Write One Read Many CD)เป็น CD ที่บันทึกข้อมูลได้ ครั้งเดียว แต่สามารถอ่านข้อมูลกี่ครั้งก็ได้ ความจุตั้งแต่ 600MB ถึง3 GB ขึ้นไป ซึ่งเมื่อบันทึกข้อมูลจากเครื่องใดจะต้องใช้เครื่องอ่านรุ่นเดียวกัน

8) เอ็มโอดิสก์ (MO : Magneto Optical Disk) เป็นจานแม่เหล็กที่ใช้เทคโนโลยีแม่เหล็ก (Magnetic) และเทคโนโลยีแสงเลเซอร์ร่วมกัน ทำให้การบันทึกและการอ่านข้อมูลทำได้หลายครั้งเช่นเดียวกับจานแม่เหล็กทั่วไป ขนาดของดิสก์ใกล้เคียงกับดิสก์เก็ต 3.5 นิ้ว แต่มีขนาดที่ใหญ่กว่าเล็กน้อย

9) ดีวีดี (DVD : Digital Versatile Disk) เป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดสำหรับอุปกรณ์ในการบันทึกข้อมูล แผ่น DVD สามารถเก็บข้อมูลได้ต่ำสุดที่ 4.7 GBความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลเป็น 600KB ต่อวินาที เครื่องอ่าน DVD


1.3 อุปกรณ์แสดงผล
1.3.1 อุปกรณ์แสดงผล เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับผลจากการประมวลที่เก็บไว้ในหน่วยความจำหลัก ออกแสดงตามลักษณะของอุปกรณ์ ซึ่งมีอยู่ไม่กี่ประเภท ที่นิยมใช้คือจอภาพ (Monitor) เครื่องพิมพ์ (Printer) และการแสดงผลทางระบบเสียง (Sound System)

1.3.1.1 จอภาพ (Monitor) เป็นอุปกรณ์แสดงผลที่สามารถติดต่อกับผู้ใช้คอมพิวเตอร์ได้ทันทีที่มีการประมวลผลเกิดขึ้น ทำให้ผู้ใช้งานสามารถสั่งให้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้ทันที เมื่อผลลัพธ์ที่แสดงออกไม่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งานด้วยเหตุนี้คุณภาพของจอภาพจะมีผลโดยตรงต่อสุขภาพของสายตาของผู้ใช้งาน ดังนั้นจอภาพที่ดีจะต้องให้ภาพ

1.3.1.2 เครื่องพิมพ์ (Printer) เป็นอุปกรณ์แสดงผลออกทางกระดาษ อาจเป็นกระดาษต่อเนื่อง กระดาษพิมพ์ขนาดต่าง ๆ หรือแบบฟอร์มที่ได้กำหนดได้แล้วขึ้นอยู่กับลักษณะงานและประเภทของเครื่องพิมพ์

1) เครื่องพิมพ์ประเภทกระทบ (Impact Printers) เป็นเครื่องพิมพ์ที่ใช้เทคนิคการตอกหรือกระแทกแม่พิมพ์ซึ่งเป็นตัวอักษร
เครื่องพิมพ์แบบเรียงจุด (Dot matrix) การพิมพ์แต่ละครั้งจะเกิดจากหัวพิมพ์ (Print Head) ที่ประกอบด้วยชุดของเข็มพิมพ์จำนวน เข็ม
เครื่องพิมพ์อักษรคุณภาพ (Letter - QualityPrinter) เครื่องชนิดนี้จะมีหัวพิมพ์และกลไกในการตอกหัวพิมพ์จะเป็นตัวเลข
เครื่องพิมพ์แบบลูกโซ่ (Chain Printer) เป็นเครื่องพิมพ์ที่ใช้ลูกโซ่ที่มีตัวเลข ตัวอักษรและสัญลักษณ์ต่าง ๆ
เครื่องพิมพ์แบบใช้ดรัม (Drum Printer) ดรัมเป็นกระบอกโลหะสัญลักษณ์ต่าง ๆ สำหรับการพิมพ์จะอยู่บนกระบอกโลหะนี้
2) เครื่องพิมพ์ชนิดไม่กระทบ (Non - Impact Printer)เป็นเครื่องพิมพ์ที่ใช้เทคนิคอื่น ๆ ที่ไม่ได้ใช้การตอกลงบนกระดาษ
เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก (Inkjet Printer)เครื่องพิมพ์ประเภทใช้วิธีพ่นหมึกผ่านท่อหรือร่องขนาดเล็กจำนวนหนึ่ง
เครื่องพิมพ์แบบใช้แสงเลเซอร์( Laser Printer)เป็นเครื่องพิมพ์ที่ใช้เทคโนโลยีการยิงแสงเลเซอร์ไปยังแผ่นโลหะที่ฉาบด้วยซิลิเนียม
เครื่องพิมพ์คุณภาพชนิดอื่นๆ เป็นเครื่องพิมพ์ที่สร้าง โดยใช้เทคนิคของเครื่องพิมพ์แบบกระทบและไม่กระทบผสมผสานกับเทคโนโลยีใหม่ ๆเพื่อให้เกิดงานพิมพ์ที่มีคุณภาพที่ใช้เฉพาะงาน

1.3.1.3 เครื่องวาดรูปพลอตเตอร์ (Plotter) เป็นอุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ โดยการสร้างรูปภาพแบบทางวิศวกรรม ทางสถาปัตยกรรม ซึ่งเป็นภาพขนาดใหญ่ มีรายละเอียดเช่นเดียวกับระบบแคด (CAD Systerm) หรือพิมพ์เขียว เป็นต้น

1.3.1.4 เครื่องแสดงผลลัพธ์ด้วยเสียง (Sound System) ลำโพงเป็นอุปกรณ์ที่แสดงผลลัพธ์ด้วยเสียง ปกติคอมพิวเตอร์สามารถส่งสัญญาณเสียงได้ แต่การแสดงผลลัพธ์ในระบบเสียงในที่นี้หมายถึง เสียงที่เกิดจากการ์ดเสียง

2. ซอฟท์แวร์ (Software) เป็นส่วนของโปรแกรมหรือชุดคำสั่ง เพื่อที่จะสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้ ซึ่งโปรแกรมดังกล่าวอาจจะเขียนอยู่ในรูปของภาษาเครื่องที่จะทำให้เครื่องเข้าใจและทำงานได้โดยตรง หรืออาจเขียนอยู่ในรูปภาษาระดับสูง
2.1 ซอฟท์แวร์ระบบ (System Software) เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ติดต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ และควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ทุกอย่างที่ต่อพ่วงกันซอฟท์แวร์ระบบมี ประเภท คือ
2.1.1 ระบบปฏิบัติการ (Operating System : OS) คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่ควบคุมการปฏิบัติงาน อุปกรณ์ในด้าน Input และ Output
2.1.2 โปรแกรมแปลภาษา (Translation Program) ทำหน้าที่แปลภาษาระหว่างภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาระดับต่ำหรือเรียกว่า ภาษาเครื่อง
2.1.2.1 อินเทอร์พรีเตอร์(Interpreter) เป็นตัวแปลภาษาที่แปลทีละคำสั่ง ตั้งแต่คำสั่งแรกไปจนถึงคำสั่งสุดท้าย ถ้าพบคำสั่งผิดจะหยุดการแปลทันที
2.1.2.2 คอมไพเลอร์ (Compiler) เป็นตัวแปลภาษาที่แปลคำสั่งทีละคำสั่ง แต่คำสั่งแรกไปจนจบโปรแกรม ถึงแม้ว่าจะพบคำสั่งผิดจะไม่หยุดการแปล
2.2 โปรแกรมประยุกต์ ( Application Software) เป็นโปรแกรมประยุกต์ใช้งานเฉพาะด้าน ซึ่งอาจจะได้จากการเขียนโปรแกรมขึ้นมาใช้งานเองในหน่วยงานหรือเป็น

3. บุคคลากรทางคอมพิวเตอร์ (People ware) หมายถึง ผู้ที่ปฏิบัติงานตามกระบวนวิธีการในกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานคอมพิวเตอร์ ได้แก่
3.1 นักวิเคราะห์ระบบและออกแบบระบบงานคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่ในการวิเคราะห์และออกแบบระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการประมวลผลนั่นเอง เช่น
นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ (System Analysis and Designer)
เจ้าหน้าที่วิศวกรรมระบบ (System Engineer)
เจ้าหน้าที่จัดการระบบฐานข้อมูล (Database Adminitrator)
3.2 นักพัฒนาโปรแกรม ทำให้หน้าที่ในการออกแบบโปรแกรมและเขียนโปรแกรม เช่น โปรแกรมเมอร์ (Programmer)
3.3 เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล (Data Operator) ทำหน้าที่บันทึกข้อมูลและเก็บรวบรวมข้อมูล เช่น การบันทึกข้อมูลลงสื่อ หรือการส่งข้อมูลเข้าสู่การประมวลผล และควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์
3.4 ผู้บริหารศูนย์ประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

4. ข้อมูล (Data) และสารสนเทศ (Information) หมายถึง รายละเอียดความจริงซึ่งอาจอยู่ในรูปของตัวเลข ตัวอักษร รูปภาพ เสียง สำหรับข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญสำหรับทุกคนในปัจจุบัน จึงทำให้จะต้องมีการนำเอาคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้เพื่อช่วยในการดำเนินการและการปฏิบัติการกับข้อมูลที่มีจำนวนมาก ได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง

5. ระเบียบปฏิบัติและกระบวนการ (Procedure) เป็นการกำหนดกฎเกณฑ์ขั้นพื้นฐานให้กับบุคลากรในหน่วยงานได้ปฏิบัติร่วมกันเพื่อเป็นระบบแบบเดียวกัน

6. ระบบสื่อสารข้อมูล (Data Communication) หมายถึง ระบบที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังที่หนึ่ง หรือกล่าวอีกนัย คือ เป็นการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ตั้งแต่เครื่องขึ้นไป และเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถสื่อสารส่งผ่านข้อมูล หรือการถ่ายโอนข้อมูลจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งได้และเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถสื่อสารส่งผ่านข้อมูล หรือการ
ถ่ายโอนข้อมูลจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งได้ การสื่อสารข้อมูลเป็นกระบวนการส่งผ่านและรับสารสนเทศระยะไกลในลักษณะของการแพร่กระจายสัญญาณ ผ่านช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ เช่น วิทยุ โทรศัพท์ โทรทัศน์ โทรเลข โทรสาร และคอมพิวเตอร์ เป็นต้น ซึ่งมี
องค์ประกอบ ประการ ดังนี้
6.1 อุปกรณ์แสดงผลข้อมูลข่าวสาร เช่น จอภาพคอมพิวเตอร์เทอร์มินัสชนิดต่าง ๆ และหน่วยประมวลผลกลาง ฯลฯ
6.2 สื่อกลางในการนำส่งข้อมูลข่าวสาร ได้แก่
6.2.1 อุปกรณ์ประเภทมีสาย เช่น สายเกลียวคู่สายโคแอกเซียล,สายโทรศัพท์ในแก้วนำแสง
6.2.2 อุปกรณ์ประเภทไร้สาย เช่น สัญญาณไมโครเวฟสัญญาณดาวเทียม เป็นต้น
6.3 อุปกรณ์สื่อสารข้อมูล เช่น โมเด็ม (Modem) อุปกรณ์ประเภท Line Dive


สรุป
ระบบคอมพิวเตอร์ประกอบด้วย องค์ประกอบสำคัญ
1. ฮาร์ดแวด์ (Hardware) แบ่งออกเป็น องค์ประกอบ
1.1 อุปกรณ์รับข้อมูลเข้า (Input Device) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการรับข้อมูลเข้าไปสู่หน่วยประมวลผลกลาง
1.2 อุปกรณ์ประมวลผล จะทำหน้าที่ควบคุมและปฏิบัติการตามขั้นตอนของโปรแกรม
1.3 อุปกรณ์แสดงผล ทำหน้าที่รับผลจากการประมวลที่เก็บไว้ในหน่วยความจำหลัก
2. ซอฟต์แวร์ (Software) แบ่งออกเป็น ชนิด
2.1 ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) ทำหน้าที่ติดต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์
2.2 ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) ทำหน้าที่ใช้งานเฉพาะดังนี้
3. บุคลากรทางคอมพิวเตอร์
3.1 นักวิเคราะห์ระบบและออกแบบระบบคอมพิวเตอร์
3.2 นักพัฒนาโปรแกรม
3.3 เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล
3.4 ผู้บริหารศูนย์ประมวลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์
4. ข้อมูลและสารสนเทศ
5. ระเบียบปฏิบัติและกระบวนการ
6. ระบบสื่อสารข้อมูล