วันจันทร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์


องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
ระบบคอมพิวเตอร์ประกอบด้วย องค์ประกอบสำคัญ ได้แก่
1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
2. ซอฟท์แวร์ (Software)
3. บุคคลากรทางคอมพิวเตอร์ (People ware)
4. ข้อมูล (Data) และสารสนเทศ (Information)
5. ระเบียบปฏิบัติและกระบวนการ (Procedure)
6. ระบบสื่อสารข้อมูล (Data Communication)


1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หรือตัวเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ หมายถึงส่วนที่เป็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ประกอบขึ้นมาใช้งานได้ ซึ่งสามารถแบ่งส่วนประกอบได้ส่วนที่สำคัญ คือ
1.1 อุปกรณ์รับข้อมูลเข้า (Input Device) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการรับข้อมูลเข้าไปสู่หน่วยประมวลผลกลาง ผู้ใช้สามารถป้อนข้อมูลคำสั่งต่าง ๆ ผ่านอุปกรณ์เหล่านี้เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลเข้า ได้แก่

1.1.1 แป้นพิมพ์ (Keybord) เป็นอุปกรณ์พื้นฐาน ส่วนที่ใช้สำหรับข้อมูลที่สามารถพิมพ์ หรือเคาะได้ เช่น ตัวเลข ตัวอักษร เป็นต้น แป้นพิมพ์ ถูกออกแบบให้ประกอบด้วยกลุ่มของคีย์ที่มีลักษณะต่าง ๆ คือ คีย์ตัวอักษร (Alphabatic keys) คีย์ตัวเลข(Numeric keys) คีย์ฟังก์ชั่น (Function keys) และคีย์ทั้งหมดมีถึง 101 คีย์หรือมากกว่า โดยเป็นจริงแล้วรหัสที่แทนข้อมูลในปัจจุบันเป็นแบบ 8 bit / byteทำให้สามารถสร้างสัญลักษณ์ต่าง ๆ ไมากกว่า 256 สัญลักษณ์ที่แตกต่างกัน มีแป้นพิมพ์บางชนิดที่สร้างขึ้นเพื่อใช้งานเฉพาะทางมีจำนวนคีย์เฉพาะที่จำเป็นใช้งาน เช่น แป้นพิมพ์ของเครื่องฝาก-ถอน เงินอัตโนมัติ(Automatic Teller Machine) การทำงานของแป้นพิมพขึ้นอยู่กับคีย์บอร์ดคอนโทรลเลอร์(Keybord Controller) ซึ่งจะทำหน้าที่รับข้อมูลและแปลงให้เป็นสัญญาณที่เครื่องเข้าใจและส่งไปให้คีย์บอร์ดบัฟเฟอร์ (Keybord buffer) ทำหน้าที่พักสัญญาณที่ได้รับมาและติดต่อกับโปรแกรมระบบเพื่อดำเนินการต่อไป

1.1.2 เมาส์ (Mouse) เป็นอุปกรณ์สำหรับรับข้อมูลจากการชี้ตำแหน่งบนจอภาพ โดยอาศัยการเลื่อนเมาส์จากการหมุนของลูกกลมที่อยู่ด้านล่าง นอกจากนี้ยังใช้เมาส์สำหรับการวาดรูป การเปลี่ยนแปลง การเคลื่อนย้าย ซึ่งทำให้ผู้ใช้งานสามารถติดต่อกับคอมพิวเตอร์ได้อย่างรวดเร็ว แต่เมาส์จำเป็นจะต้องใช้ควบคู่กับแป้นพิมพ์เนื่องจากเมาส์ไม่สามารถป้อนตัวอักษรได้ ปกติจะวางเมาส์ไว้ทางด้านขวามือของผู้ใช้งาน ลักษณะของเมาส์มีรูปร่างที่แตกต่างกันและมีหลายขนาดขึ้นอยู่กับบริษัทผู้ผลิตที่นิยมจะเป็นขนาดที่ฝ่ามือจับได้สะดวก ด้านล่างของเมาส์จะมีลูกบอลช่วยสำหรับการเคลื่อนที่ขณะที่ลูกบอลเคลื่อนที่ตัวดักสัญญาณจะส่งข้อมูลเพื่อให้ระบบแปลงสัญญาณเลื่อนตำแหน่งบนจอภาพให้สอดคล้องกับเมาส์ที่เคลื่อนที่ไป ด้านบนของเมาส์จะมีปุ่มสองหรือสามปุ่มสำหรับกดเพื่อเลือกสิ่งที่ต้องการการกดเมาส์ เรียกว่า การคลิกเมาส์ (Clicking) สามารถทำได้หลายแบบและได้ผลต่างกัน เช่นการคลิก ครั้ง ดับเบิลคลิก การลากและวาง การคลิกขวา เป็นต้น เมื่อคลิกเมาส์ในรูปแบบต่าง ๆ ที่ต้องการแต่ละครั้งจะมีการส่งสัญญาณไปที่หน่วยประมวลผล เพื่อให้โปรแกรมตรวจ

1.1.3 แทร็กบอล (Track ball) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการรับข้อมูลโดยการชี้และเลือกข้อมูลผ่านทางจอภาพเช่นเดียวกับเมาส์ แต่แทร็กบอลจะเลื่อนตัวชี้ โดยการหมุนลูกบอลที่อยู่ด้านบน โดยตัวแทร็กบอลไม่ต้องเคลื่อนที่ จึงทำให้ใช้พื้นที่การทำงานน้อยกว่า นิยมใช้กับคอมพิวเตอร์แบบพกพา (Laptop)

1.1.4 จอยสติก (Joy Stick) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลมีลักษณะเป็นคันบังคับสำหรับโยกขึ้นลง ซ้ายขวา เพื่อควบคุมตำแหน่งของตัวชี้ หลักการทำงานเช่นเดียวกับเมาส์นิยมใช้ในการเล่นเกม ปัจจุบันจอยสติกมีการออกแบบให้สะดวกและเหมาะสมกับลักษณะของเครื่องเล่นที่มีหลายแบบ แต่หลักการยังคงเหมือนเดิม

1.1.5 เครื่องอ่านบาร์โค๊ต (Bar Code Reader) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลจากรหัสของเลขฐานสองที่อยู่ในรูปของรหัสแถบ ( Bar code) ซึ่งประกอบด้วยแถบสีดำและ
ยาว ความกว้างของแถบสีเป็นตัวกำหนดรหัสที่แทนค่าของตัวเลขตามมาตรฐานการกำหนดรหัสจะใช้สำหรับข้อมูลที่แทนตัวเลข เช่น ราคาของสินค้าตามร้านขายสินค้าประเภทต่าง ๆ นิยมกำหนดราคาด้วยรหัสแถบ หนังสือในห้องสมุด เป็นต้น เครื่องอ่านบาร์โค๊ต หรือเครื่องอ่านรหัสแถบใช้หลักการสะท้อนแสงจากความเข้มของสีที่แตกต่างกัน เมื่อเครื่องอ่านได้รับแสงที่สะท้อนมาจะนำไปเปรียบเทียบกับรหัสมาตรฐาน แล้วส่งรหัสที่ได้ไปประมวลผลต่อไป
เครื่องอ่านสามารถอ่านรหัสแถบทั้งจากบนลงล่าง หรือล่างขึ้นบนได้ทั้งสองทิศทาง

1.1.6 สแกนเนอร์ (Scanner) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูล โดยการอ่านหรือสแกน (Scan) ข้อมูลที่ต้องการ เครื่องสแกนจะมีเซลล์ไวแสงที่ตรวจจับความเข้มของแสงที่จากข้อมูล แล้วแปลงเป็นสัญญาณดิจิตอลให้เครื่องคอมพิวเตอร์ดำเนินการต่อไป ข้อมูลอาจจะอยู่ในรูปของข้อความหรือกราฟฟิก เครื่องสแกนมีหลายแบบตามความเหมาะสมกับการใช้งาน เช่น แบบมือถือ แบบสอดกระดาษ แบบแท่น เป็นต้น

1.1.7 เครื่องอ่านอักขระด้วยแสง (Optical Character Reader : OCR)เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลที่เป็นอักขระจากเอกสารต่าง ๆ เช่น ตัวอักษรบนเช็ค ตัวอักษรบนเอกสารอื่น ๆ ทำให้สะดวกในการรับข้อมูลจากเอกสารจำนวนมาก นอกจากนี้เครื่อง OCR

1.1.8 เครื่องอ่านหมึกพิมพ์แม่เหล็ก (Magcnetic Ink CharacterReader : MICR) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลที่พัฒนาเพื่อใช้สำหรับการอ่านสัญลักษณ์ที่พิมพ์จากหมึกพิมพ์ที่ผสมกับผงเหล็กออกไซด์

1.1.9 ปากกาแสง (Light pen) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลอีกชนิดหนึ่งโดยการแตะปากกาแสงไปตามตำแหน่งหรือทิศทางที่ต้องการ มักใช้ในงานออกแบบ แต่การใช้สำหรับการเขียนอักขระไม่เป็นที่นิยมเนื่องจากมีข้อจำกัดเกี่ยวกับสัญญาณที่ได้รับจากากรเขียนซึ่งทำได้ยากในการเปรียบเทียบค่าที่รับเข้ากับค่าที่กำหนดไว้รูป

1.1.10 จอสัมผัส (Touch screens) เป็นอุปกรณ์ที่สามารถทำงานได้ทั้งการรับและแสดงผลการรับข้อมูลจะใช้นิ้วสัมผัสที่หน้าจอ เพื่อเลือกเมนู เช่น หน้าจอของเครื่อง ATM (Automatic Teller Machines)

1.1.11 กล้องถ่ายภาพดิจิตอล (Digital Camera) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลโดยการถ่ายภาพ ข้อมูลที่ได้จะถูกเปลี่ยนเป็นสัญญาณดิจิตอลแล้วเก็บข้อมูลดิจิตอลนั้นไว้ใน

1.1.12 ไมโครโฟน (Microphone) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลจากเสียงพูดโดยตรง เสียงที่ได้จะถูกแปลงเป็นสัญญาณดิจิตอล เพื่อให้คอมพิวเตอร์ประมวลผลได้การสื่อสารโดยใช้เสียงคอมพิวเตอร์จำเป็นจะต้องมีหน่วยที่ทำหน้าที่จดจำเสียง ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของอุปกรณ์ หรือ ชุดของคำสั่ง (Voice Recognition Devices or Voice RecognitionSoftware) ซึ่งทำให้สามารถสื่อสารหรือสั่งการให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ เทคโนโลยีชนิดนี้ยังมีข้อจำกัดเนื่องจากน้ำเสียง

1.2 อุปกรณ์ของหน่วยประมวลผล การประมวลผลของคอมพิวเตอร์เกิดขึ้นจากการทำงานประสานกันของหน่วยประมวลผลและหน่วยความจำหลัก หรือหน่วยความจำภายใน โดยหน่วยประมวลผลจะทำหน้าที่ควบคุมและปฏิบัติการตามขั้นตอนของโปรแกรม ในขณะที่หน่วยความจำจะเป็นที่พักของโปรแกรม ข้อมูลนำเข้า และผลลัพธ์ที่ได้จาการประมวลผลก่อนการนำออกไปแสดงทางอุปกรณ์การแสดงผล

1.2.1 หน่วยควบคุม (Control Unit) จะทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ทุกอย่างรวมทั้งตัวเองด้วย ให้เป็นไปตามคำสั่ง เช่น ควบคุมให้หน่วยรับข้อมูลอ่านข้อมูลเข้าหรือให้หน่วยคำนวณ ทำการคำนวณ

1.2.1.1 Address Word เป็นส่วนที่จะเก็บตำแหน่งของคำสั่งที่ถูกเก็บไว้ในหน่วยความจำ ซึ่งเป็นส่วนที่ทำให้ CPU สามารถติดต่อกับคำสั่งเหล่านี้ได้

1.2.1.2 Instruction Word เป็นส่วนที่เก็บคำสั่งที่หน่วยควบคุมใช้ในการจัดการ ในชุดของคำสั่งนี้จะมีรายละเอียดที่กำหนดขั้นตอนและขอบเขตการทำงานของหน่วยควบคุม ภายใต้ชุดคำสั่งนั้น ๆ จะมีชุดของคำสั่งที่จะกำหนดรายละเอียดของการทำงานของส่วนอื่น ๆ ต่อไป CPU ที่แตกต่างกันจะมี Instruction set ที่แตกต่างกัน ผู้ผลิตCPU แต่ละรายจะกำหนดแนวทางของ CPU ให้มีโครงสร้างของInstruction คล้ายกัน

1.2.2 หน่วยคำนวณและเปรียบเทียบ (Arithmatic and LogicUnit:ALU) มีหน้าที่สำหรับการคำนวณ เช่น บวก ลบ คูณ หาร ตลอดทั้งการเปรียบเทียบข้อมูล เช่น เท่ากับ ไม่เท่ากับ มากกว่า น้อยกว่า รวมทั้งการประมวลผลอื่น ๆ

1.2.3 หน่วยความจำ (Memory Unit) เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ในการเก็บคำสั่งและข้อมูล รวมทั้งผลที่ได้จากการประมวลผลจากส่วนคำนวณและเปรียบเทียบนอกจากนี้ยังทำหน้าที่ในการส่งหรือคัดลอก (Copy) ข้อมูลจากหน่วยความจำไปยังหน่วยอื่น ๆที่เกี่ยวข้องข้อมูล แต่ละข้อมูลจะถูกกำหนดตำแหน่งให้เก็บในหน่วยความจำเพียงตำแหน่งเดียวมีข้อมูลชื่อเดิมถูกส่งใหม่อีก

1.2.3.1 หน่วยความจำหลักหรือหน่วยความจำภายใน (MainMemory or Internal Memory) เป็นหน่วยความจำที่อยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่เก็บข้อมูลเก็บโปรแกรมและผลลัพธ์ที่อยู่ระหว่างการประมวลผล 
หน่วยความจำประเภทนี้จะเป็นชิป (Chip) ที่ถูกวางบนแผงวงจรหลัก (Mainbord)

1) หน่วยความจำถาวร (ROM:Read Only Memory)เป็นหน่วย ความจำชนิด Nonvolatile ซึ่งเก็บคำสั่งที่สำคัญ เช่น โปรแกรมระบบปฏิบัติการ(Operating System : OS) คำสั่งเริ่มต้นการทำงาน คำสั่งควบคุมอุปกรณ์ ชุดของคำสั่งที่สำคัญเหล่านี้จะถูกบรรจุบน ROM โดยวิธีพิเศษจากโรงงานผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถอ่านโปรแกรมนำมาปฎิบัติตามได้อย่างเดียว ไม่สามารถบันทึกหรือแก้ไข ลงบน ROM ได้การบันทึกแก้ไขจะต้องอาศัยวิธีพิเศษจึงทำให้ ROM สามารถแบ่งย่อยออกเป็น ชนิด คือ.PROM (Programmable Read Only Memory) ชนิดนี้ไม่อนุญาตให้แก้ไขเลยEPROM(Erasable PROM) เก็บและแก้ไขได้ด้วยแสงอัตราไวโอเลต EEPROM (Electrically ErasablePROM) และ EAPROM (Electrically Alterable PROM) ทั้ง ชนิดหลัง สามารถแก้ไข ลบ

2) หน่วยความจำแบบชั่วคราวหรือแบบแก้ไขได้(Ramdon Access memory:RAM) เป็นหน่วยความจำชนิด Volatile ความเร็วในการส่งข้อมูลสูง หน่วยความจำส่วนนี้จะทำหน้าที่เก็บข้อมูล โปแกรมและผลลัพธ์ ในระหว่างการประมวลผลเป็นส่วนที่อนุญาตให้ผู้ใช้สามารถส่งข้อมูลหรือโปรแกรมเข้าไปเก็บ เพื่อประมวลผลซึ่งส่วนควบคุมจะแบ่งเนื้อที่ในหน่วยความจำ

1.2.3.2 หน่วยความจำสำรองหรือหน่วยความจำภายนอก(Secondary Memory or External Memory) เนื่องจากหน่วยความจำภายใน โดยเฉพาะRAM เป็นหน่วยความจำ ชนิด Volatile จึงไม่มีความสามารถในการจัดข้อมูลเมื่อไม่มีไฟเลี้ยงอีกทั้งความจุของหน่วยความจำ ภายในไม่เอื้อสำหรับการเก็บข้อมูลจำนวนมาก

1) เทปแม่เหล็ก (Magnetic Tape) เป็นหน่วยความจำที่ใช้เก็บข้อมูลมาตั้งแต่ยุคแรกจนถึงปัจจุบัน ลักษณะของเทปแม่เหล็กบันทึกข้อมูลคล้ายกับเทปแม่เหล็กที่ใช้ในการบันทึกเสียงคือทำด้วยพลาสติก เรียกว่า สารไมลาร์ อีกด้านหนึ่งเคลือบด้วยเหล็กออกไซด์ความกว้างประมาณครึ่งนิ้ว ถึง นิ้ว ม้วนอยู่ในวงล้อ มีทั้งแบบม้วนเทป(Reel-to-Reel) ที่ใช้ในคอมพิวเตอร์แบบเมนเฟรม แบบคาร์ทริดจ์เทป (Cartride Tape) ลักษณะคล้ายวิดิทัศน์

2) จานแม่เหล็ก (Magnetic Disk) เป็นหน่วยความจำที่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยตรง (DASD : Direct Access Storage Device) การบันทึกและการอ่านข้อมูลบนจานแม่เหล็กใช้หลักการเดียวกับเทปแม่เหล็ก

3) จานแม่เหล็กแบบอ่อนหรือดิสก์เก็ต (Floppy Disk :Diskette) เป็นจานแม่เหล็กชนิดหนึ่งที่สร้างจากแผ่นไมลาร์ (Mylar) ฉาบด้วยเหล็กออกไซด์เป็นจานแม่เหล็กแผ่นเดียว และห่อหุ้มด้วยพลาสติก มีหลายขนาด เช่น นิ้ว 5.25 นิ้ว

4) ฮาร์ดดิสก์ (Hard disk) เป็นหน่วยความจำสำรองที่มีหลักการเช่นเดียวกับจานแม่เหล็กส่วนที่เก็บข้อมูลทำจากแผ่นโลหะ เรียกว่า แพลตเตอร์(Platters) และฉาบด้วยเหล็กออกไซด์ ส่วนที่เป็นเครื่องอ่านฮาร์ดดิสก์

5) ซีดีรอม (CD - ROM : Compact Disk Read OnlyMemory) เป็นอุปกรณ์บันทึกข้อมูล โดยใช้เทคโนโลยีแสงเลเซอร์ เป็นเทคโนโลยีเดียวกับซีดีเพลง การบันทึกข้อมูลบน CD-ROM ต้องใช้เครื่องมือพิเศษจากบริษัทผู้ผลิต ข้อมูลบนCD-ROM จะถูกเรียงกันเป็นแถวยาวจับเป็นก้นหอย โดยบันทึกข้อมูลเป็น Bit เรียงลำดับไปข้อมูลถูกเก็บอยู่ในรูปแลนด์ (Lands) ซึ่งเป็นผิวเรียบ และรูปพิท (Pits)

6) ซีดี-อาร์ (CD-R : CD-Recordable) เป็น CD ที่สามารถบันทึกข้อมูลโดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า CD-R Drive โดยการติดตั้งไดร์ฟนี้เข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำให้สามารถบันทึกข้อมูลจากการประมวลผล ลงบน CD-R ได้ รวมทั้งการอ่านข้อมูลจาก CD-R ได้ด้วย แต่เมื่อบันทึกแล้วจะไม่มีการแก้ไจหรือปรับปรุงได้

7) วอร์มซีดี (WORM CD : Write One Read Many CD)เป็น CD ที่บันทึกข้อมูลได้ ครั้งเดียว แต่สามารถอ่านข้อมูลกี่ครั้งก็ได้ ความจุตั้งแต่ 600MB ถึง3 GB ขึ้นไป ซึ่งเมื่อบันทึกข้อมูลจากเครื่องใดจะต้องใช้เครื่องอ่านรุ่นเดียวกัน

8) เอ็มโอดิสก์ (MO : Magneto Optical Disk) เป็นจานแม่เหล็กที่ใช้เทคโนโลยีแม่เหล็ก (Magnetic) และเทคโนโลยีแสงเลเซอร์ร่วมกัน ทำให้การบันทึกและการอ่านข้อมูลทำได้หลายครั้งเช่นเดียวกับจานแม่เหล็กทั่วไป ขนาดของดิสก์ใกล้เคียงกับดิสก์เก็ต 3.5 นิ้ว แต่มีขนาดที่ใหญ่กว่าเล็กน้อย

9) ดีวีดี (DVD : Digital Versatile Disk) เป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดสำหรับอุปกรณ์ในการบันทึกข้อมูล แผ่น DVD สามารถเก็บข้อมูลได้ต่ำสุดที่ 4.7 GBความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลเป็น 600KB ต่อวินาที เครื่องอ่าน DVD


1.3 อุปกรณ์แสดงผล
1.3.1 อุปกรณ์แสดงผล เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับผลจากการประมวลที่เก็บไว้ในหน่วยความจำหลัก ออกแสดงตามลักษณะของอุปกรณ์ ซึ่งมีอยู่ไม่กี่ประเภท ที่นิยมใช้คือจอภาพ (Monitor) เครื่องพิมพ์ (Printer) และการแสดงผลทางระบบเสียง (Sound System)

1.3.1.1 จอภาพ (Monitor) เป็นอุปกรณ์แสดงผลที่สามารถติดต่อกับผู้ใช้คอมพิวเตอร์ได้ทันทีที่มีการประมวลผลเกิดขึ้น ทำให้ผู้ใช้งานสามารถสั่งให้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้ทันที เมื่อผลลัพธ์ที่แสดงออกไม่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งานด้วยเหตุนี้คุณภาพของจอภาพจะมีผลโดยตรงต่อสุขภาพของสายตาของผู้ใช้งาน ดังนั้นจอภาพที่ดีจะต้องให้ภาพ

1.3.1.2 เครื่องพิมพ์ (Printer) เป็นอุปกรณ์แสดงผลออกทางกระดาษ อาจเป็นกระดาษต่อเนื่อง กระดาษพิมพ์ขนาดต่าง ๆ หรือแบบฟอร์มที่ได้กำหนดได้แล้วขึ้นอยู่กับลักษณะงานและประเภทของเครื่องพิมพ์

1) เครื่องพิมพ์ประเภทกระทบ (Impact Printers) เป็นเครื่องพิมพ์ที่ใช้เทคนิคการตอกหรือกระแทกแม่พิมพ์ซึ่งเป็นตัวอักษร
เครื่องพิมพ์แบบเรียงจุด (Dot matrix) การพิมพ์แต่ละครั้งจะเกิดจากหัวพิมพ์ (Print Head) ที่ประกอบด้วยชุดของเข็มพิมพ์จำนวน เข็ม
เครื่องพิมพ์อักษรคุณภาพ (Letter - QualityPrinter) เครื่องชนิดนี้จะมีหัวพิมพ์และกลไกในการตอกหัวพิมพ์จะเป็นตัวเลข
เครื่องพิมพ์แบบลูกโซ่ (Chain Printer) เป็นเครื่องพิมพ์ที่ใช้ลูกโซ่ที่มีตัวเลข ตัวอักษรและสัญลักษณ์ต่าง ๆ
เครื่องพิมพ์แบบใช้ดรัม (Drum Printer) ดรัมเป็นกระบอกโลหะสัญลักษณ์ต่าง ๆ สำหรับการพิมพ์จะอยู่บนกระบอกโลหะนี้
2) เครื่องพิมพ์ชนิดไม่กระทบ (Non - Impact Printer)เป็นเครื่องพิมพ์ที่ใช้เทคนิคอื่น ๆ ที่ไม่ได้ใช้การตอกลงบนกระดาษ
เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก (Inkjet Printer)เครื่องพิมพ์ประเภทใช้วิธีพ่นหมึกผ่านท่อหรือร่องขนาดเล็กจำนวนหนึ่ง
เครื่องพิมพ์แบบใช้แสงเลเซอร์( Laser Printer)เป็นเครื่องพิมพ์ที่ใช้เทคโนโลยีการยิงแสงเลเซอร์ไปยังแผ่นโลหะที่ฉาบด้วยซิลิเนียม
เครื่องพิมพ์คุณภาพชนิดอื่นๆ เป็นเครื่องพิมพ์ที่สร้าง โดยใช้เทคนิคของเครื่องพิมพ์แบบกระทบและไม่กระทบผสมผสานกับเทคโนโลยีใหม่ ๆเพื่อให้เกิดงานพิมพ์ที่มีคุณภาพที่ใช้เฉพาะงาน

1.3.1.3 เครื่องวาดรูปพลอตเตอร์ (Plotter) เป็นอุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ โดยการสร้างรูปภาพแบบทางวิศวกรรม ทางสถาปัตยกรรม ซึ่งเป็นภาพขนาดใหญ่ มีรายละเอียดเช่นเดียวกับระบบแคด (CAD Systerm) หรือพิมพ์เขียว เป็นต้น

1.3.1.4 เครื่องแสดงผลลัพธ์ด้วยเสียง (Sound System) ลำโพงเป็นอุปกรณ์ที่แสดงผลลัพธ์ด้วยเสียง ปกติคอมพิวเตอร์สามารถส่งสัญญาณเสียงได้ แต่การแสดงผลลัพธ์ในระบบเสียงในที่นี้หมายถึง เสียงที่เกิดจากการ์ดเสียง

2. ซอฟท์แวร์ (Software) เป็นส่วนของโปรแกรมหรือชุดคำสั่ง เพื่อที่จะสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้ ซึ่งโปรแกรมดังกล่าวอาจจะเขียนอยู่ในรูปของภาษาเครื่องที่จะทำให้เครื่องเข้าใจและทำงานได้โดยตรง หรืออาจเขียนอยู่ในรูปภาษาระดับสูง
2.1 ซอฟท์แวร์ระบบ (System Software) เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ติดต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ และควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ทุกอย่างที่ต่อพ่วงกันซอฟท์แวร์ระบบมี ประเภท คือ
2.1.1 ระบบปฏิบัติการ (Operating System : OS) คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่ควบคุมการปฏิบัติงาน อุปกรณ์ในด้าน Input และ Output
2.1.2 โปรแกรมแปลภาษา (Translation Program) ทำหน้าที่แปลภาษาระหว่างภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาระดับต่ำหรือเรียกว่า ภาษาเครื่อง
2.1.2.1 อินเทอร์พรีเตอร์(Interpreter) เป็นตัวแปลภาษาที่แปลทีละคำสั่ง ตั้งแต่คำสั่งแรกไปจนถึงคำสั่งสุดท้าย ถ้าพบคำสั่งผิดจะหยุดการแปลทันที
2.1.2.2 คอมไพเลอร์ (Compiler) เป็นตัวแปลภาษาที่แปลคำสั่งทีละคำสั่ง แต่คำสั่งแรกไปจนจบโปรแกรม ถึงแม้ว่าจะพบคำสั่งผิดจะไม่หยุดการแปล
2.2 โปรแกรมประยุกต์ ( Application Software) เป็นโปรแกรมประยุกต์ใช้งานเฉพาะด้าน ซึ่งอาจจะได้จากการเขียนโปรแกรมขึ้นมาใช้งานเองในหน่วยงานหรือเป็น

3. บุคคลากรทางคอมพิวเตอร์ (People ware) หมายถึง ผู้ที่ปฏิบัติงานตามกระบวนวิธีการในกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานคอมพิวเตอร์ ได้แก่
3.1 นักวิเคราะห์ระบบและออกแบบระบบงานคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่ในการวิเคราะห์และออกแบบระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการประมวลผลนั่นเอง เช่น
นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ (System Analysis and Designer)
เจ้าหน้าที่วิศวกรรมระบบ (System Engineer)
เจ้าหน้าที่จัดการระบบฐานข้อมูล (Database Adminitrator)
3.2 นักพัฒนาโปรแกรม ทำให้หน้าที่ในการออกแบบโปรแกรมและเขียนโปรแกรม เช่น โปรแกรมเมอร์ (Programmer)
3.3 เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล (Data Operator) ทำหน้าที่บันทึกข้อมูลและเก็บรวบรวมข้อมูล เช่น การบันทึกข้อมูลลงสื่อ หรือการส่งข้อมูลเข้าสู่การประมวลผล และควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์
3.4 ผู้บริหารศูนย์ประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

4. ข้อมูล (Data) และสารสนเทศ (Information) หมายถึง รายละเอียดความจริงซึ่งอาจอยู่ในรูปของตัวเลข ตัวอักษร รูปภาพ เสียง สำหรับข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญสำหรับทุกคนในปัจจุบัน จึงทำให้จะต้องมีการนำเอาคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้เพื่อช่วยในการดำเนินการและการปฏิบัติการกับข้อมูลที่มีจำนวนมาก ได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง

5. ระเบียบปฏิบัติและกระบวนการ (Procedure) เป็นการกำหนดกฎเกณฑ์ขั้นพื้นฐานให้กับบุคลากรในหน่วยงานได้ปฏิบัติร่วมกันเพื่อเป็นระบบแบบเดียวกัน

6. ระบบสื่อสารข้อมูล (Data Communication) หมายถึง ระบบที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังที่หนึ่ง หรือกล่าวอีกนัย คือ เป็นการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ตั้งแต่เครื่องขึ้นไป และเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถสื่อสารส่งผ่านข้อมูล หรือการถ่ายโอนข้อมูลจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งได้และเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถสื่อสารส่งผ่านข้อมูล หรือการ
ถ่ายโอนข้อมูลจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งได้ การสื่อสารข้อมูลเป็นกระบวนการส่งผ่านและรับสารสนเทศระยะไกลในลักษณะของการแพร่กระจายสัญญาณ ผ่านช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ เช่น วิทยุ โทรศัพท์ โทรทัศน์ โทรเลข โทรสาร และคอมพิวเตอร์ เป็นต้น ซึ่งมี
องค์ประกอบ ประการ ดังนี้
6.1 อุปกรณ์แสดงผลข้อมูลข่าวสาร เช่น จอภาพคอมพิวเตอร์เทอร์มินัสชนิดต่าง ๆ และหน่วยประมวลผลกลาง ฯลฯ
6.2 สื่อกลางในการนำส่งข้อมูลข่าวสาร ได้แก่
6.2.1 อุปกรณ์ประเภทมีสาย เช่น สายเกลียวคู่สายโคแอกเซียล,สายโทรศัพท์ในแก้วนำแสง
6.2.2 อุปกรณ์ประเภทไร้สาย เช่น สัญญาณไมโครเวฟสัญญาณดาวเทียม เป็นต้น
6.3 อุปกรณ์สื่อสารข้อมูล เช่น โมเด็ม (Modem) อุปกรณ์ประเภท Line Dive


สรุป
ระบบคอมพิวเตอร์ประกอบด้วย องค์ประกอบสำคัญ
1. ฮาร์ดแวด์ (Hardware) แบ่งออกเป็น องค์ประกอบ
1.1 อุปกรณ์รับข้อมูลเข้า (Input Device) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการรับข้อมูลเข้าไปสู่หน่วยประมวลผลกลาง
1.2 อุปกรณ์ประมวลผล จะทำหน้าที่ควบคุมและปฏิบัติการตามขั้นตอนของโปรแกรม
1.3 อุปกรณ์แสดงผล ทำหน้าที่รับผลจากการประมวลที่เก็บไว้ในหน่วยความจำหลัก
2. ซอฟต์แวร์ (Software) แบ่งออกเป็น ชนิด
2.1 ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) ทำหน้าที่ติดต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์
2.2 ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) ทำหน้าที่ใช้งานเฉพาะดังนี้
3. บุคลากรทางคอมพิวเตอร์
3.1 นักวิเคราะห์ระบบและออกแบบระบบคอมพิวเตอร์
3.2 นักพัฒนาโปรแกรม
3.3 เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล
3.4 ผู้บริหารศูนย์ประมวลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์
4. ข้อมูลและสารสนเทศ
5. ระเบียบปฏิบัติและกระบวนการ
6. ระบบสื่อสารข้อมูล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น